ระบบเศรษฐกิจ
การเกษตร
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก รองลงมาคือ รับจ้าง รับราชการ และค้าขาย
การปศุสัตว์
ราษฎรส่วนใหญ่เลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็นส่วนใหญ่
การบริการ
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน
ปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง
โรงสี 19 แห่ง
ร้านค้า 35 แห่ง การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวในเชิงประเพณี
เช่นประเพณีทำบุญเดือนสาม
การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ
สภาพทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา หลังจากว่างเว้นจากการเก็บเกี่ยวจะมีการทอผ้าไหม รับจ้างทั่วไป ฐานะของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางกึ่งต่ำ
1. การรวมกลุ่มของประชาชน
- กลุ่มเย็บกระเป๋า บ้านโคกครุฑ หมู่ที่ 4
- กลุ่มทอผ้าไหม บ้านประดู่ทอง หมู่ที่ 5
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตะเมาะ หมู่ที่ 6
- กลุ่มผลิตข้าวปลอดสารพิษบ้านจรวย หมู่ที่ 7
- กลุ่มทอผ้าไหม บ้านตระเปียงกู หมู่ที่ 8
- กลุ่มทอผ้า/เมล็ดพันธุ์ข้าว บ้านโคกกะดวด หมู่ที่ 9
แรงงาน
ราษฎรส่วนใหญ่หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะเข้าไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ๆหรือโรงงานต่างๆ
7. ศาสนา ประเพณี
วัฒนธรรม
1
การนับถือศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
2
ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่พระเวสฟังเทศน์มหาชาติ
3
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ทำเครื่องจักรสาน ภาษาถิ่นมีภาษาเขมร และภาษาลาว
4
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
1 น้ำ
มีแหล่งน้ำหลักห้วยกำโพกสายบ้านโคกยาง
ตาเมาะ และห้วยกำโพกบ้านจรวยเชื่อมอู่โลก
- ลำห้วยกำโพก เป็นเส้นแบ่งเขตตำบลลำดวนกั้นระหว่างตำบลอู่โลกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ซึ่งได้รับการขุดลอกแล้ว แต่ยังไม่ตลอดสาย และลำห้วยตราด กั้นระหว่างเขตตำบลลำดวนกับตำบลตาอ็อง
- สระน้ำ หนองน้ำ ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค จำนวน 20 แห่ง
- ลำคลอง จำนวน 2 แห่ง
- ฝายกั้นน้ำ จำนวน 20 แห่ง
- ห้วย ลำธาร จำนวน 3 แห่ง
- คลองส่งน้ำ จำนวน 2 แห่ง
2 ป่าไม้
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน
ไม่มีสงวน
3 ภูเขา
ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวนไม่มีหุบเขาในพื้นที่
4ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สภาพสิ่งแวดล้อมปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้น ใช้วิธีกำจัดโดยการฝังกลบ และขยะเปียกทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ที่ตั้ง สภาพทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน มีสภาพลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วยไหลผ่าน 2 สาย พื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม |